Sunday, 29 March 2015

16.カタカナで読む漢字

วันนี้จะมาพูดเกี่ยวคำที่เขียนด้วยคันจิ แต่อ่านเป็นคาตาคานะค่า
ซึ่งอย่างที่เพื่อนๆทราบกันดีว่า คำที่เขียนด้วยคาตาคานะนั้นส่วนใหญ่เป็นคำภาษาต่างประเทศ

แต่คำต่างประเทศเหล่านั้นเมื่อนำมาเขียนเป็นคันจิแล้ว จะเป็นยังไง?


วันนี้มี8คำที่น่าสนใจมาเสนอค่ะ

1.羊駱駝 อ่านว่า アルパカ
アルパカのイラスト(動物)


2.甜橙 อ่านว่า オレンジ

みかん・オレンジ 丸ごと&カットのイラスト(フルーツ)


3.豆茶 อ่านว่า コーヒー

コーヒーのイラスト「コーヒーメーカーとコーヒーカップ」


4.果酒 อ่านว่า ワイン


ワインのイラスト「赤ワイン」


5.麺麭 อ่านว่า パン


フランスパンのイラスト


6.洋匕 อ่านว่า スプーン

■


7.火斗 อ่านว่า アイロン

アイロンのイラスト


8.電梯 อ่านว่า エレベーター
エレベーターのイラスト

คำอื่นๆเพิ่มเติม :http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q11112894756


จุดที่น่าสนใจหลักในการเลือกใช้ตัวคันจิแทนเสียงคาตาคานะนั้น
ยึดจาก ความหมาย เป็นหลัก ไม่ยึดตามเสียงเดิมของคันจิตัวนั้น

เช่นคำว่า 果酒 ワイン ที่หมายถึงเครื่องมึนเมาที่ทำมาจากผลไม่เป็นหลักนั้น 
จึงมีการใช้คันจิ果จากคำว่า 物果物 ผลไม้ และคันจิตัว酒 ที่หมายถึงเหล้า มารวมกันแทนคำว่าไวน์

หรืออย่างคำว่า火斗  アイロン หมายถึงเตารีด ซึ่งเป็นอุปกรณที่ให้ความร้อน 
จึงมีการนำคันจิตัว火 ไฟ มาใส่ไว้ด้วย เป็นต้น


แต่ถึงอย่างไรก็ตามคันจิแทนคาตาคานะเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมซักเท่าไรนัก
นิยมเขียนด้วยคาตาคานะอย่างที่เราเห็นกันมากกว่า

แต่ถ้าเรารู้ไว้ อาจเป็นประโยชน์ในอนาคตตอนเจอคำเหล่านี้
หรือถ้าเรานำไปเขียนหรือไปใช้ได้ จะทำให้เราดูเก่งภาษาญี่ปุ่นขมากเลยค่ะ 55555

 ( ՞ਊ ՞)

Saturday, 28 March 2015

15.I can change: New me

สวัสดีค่า วันนี้เป็น外国人ครั้งสุดท้ายแล้วค่า ไปดูกันเลย


外国人
ね、ね、面白い話があるよ。(何に何に) まずね、ホテルのロビーのソファーにペエスケという男の人が座っています。(うんうん) ペエスケくんの隣には、まあ、新聞を広げて読んでいる男の人も座っています。(うん) すると、ペエスケくんはボートしている時に、地図を手に持っている外国人と目が合ってしまいました。(へー) ペエスケくんは日本人だからね、まあ、外国語に自信がないし。(そうだよね) ペエスケくんが「やばい」と思っている瞬間に、その外国人が、なんか、道とか聞きたいそうな顔をして、ペエスケくんに歩きました。(へ!マジで) うん、困るんだね、ペエスケくん。(うん) そして、まあ、こう言う状況は誰でも説明したくないね、私たちでも。(うん、したくない) だから、ペエスケくんは、説明することを避けるために、そのソファーに座っている隣の人の新聞のかげに隠れました。(ええええ!面白い) だから、その外国人に怒られてしまいました。(うんうん) やっぱりよね。(そうー)
内省
ผู้เล่า
-พยายามพูดเชิงคำถามกับผู้ฟังมากขึ้นขณะการเล่า เพื่อสร้างความมีส่วนรวมในการสนทนา
เช่น こう言う状況は誰でも説明したくないね、私たちでも。
      困るんだね、ペエスケくん
      やっぱりよね。
-มีการพูดเปิดก่อนเริ่มเรื่อง ในครั้งก่อนๆไม่มี
 ね、ね、面白い話があるよ。
-จากการได้ทำหลายครั้ง ทำให้คำศํพท์ใช้ได้ถูกต้องกว่าครั้งแรก แม้ไม่สมบูรณ์เท่าครั้งที่2ก็ตาม
เช่น 新聞を広げて読んでいる
      目が合ってしまいました
       説明することを避ける
       新聞のかげに隠れました
-มีการพูดแสดงความเห็นตัวเองเพิ่มเข้าไป
ペエスケくんは日本人だからね、まあ、外国語に自信がないし
-พยายามใช้ね ให้มากขึ้น
เช่น まずね
       ペエスケくんは日本人だからね
       うん、困るんだね
       こう言う状況は誰でも説明したくないね
ผู้ฟัง
-มีการตอบอย่างอื่นนอกจากうんและあ
-มีการตอบเป็นประโยค
เช่น なるほど 
  そうだね
-มีการตอบโดยใช้คำแสดงความรู้สึก(adj)
เช่น かわいそう
  かわいい
٩(๑❛ᴗ❛๑)۶

Sunday, 22 March 2015

14.面食い vs 面食らう

วันนี้ได้อ่านนิยายเรื่อง イニシエーションラブ มาค่ะ
สนุกมากเลย ไว้อาทิตย์หน้าจะมาแนะนำนะคะ

ที่จะแนะนำวันนี้คือว่า面食い และ 面食らうค่ะ
พอดีขณะอ่านเรื่องนี้อยู่เจอคำว่า 面食らう เป็นครั้งแรกค่ะ


โดยส่วนตัวรู้จักคำว่า面食い อยู่แล้วเลยแปล面食らうให้เหมือน面食いซะเลย5555



แน่นอนว่า...
อ่านไม่รู้เรื่อง555555

เพราะทั้งสองคำมีความหมายไม่เหมือนกันนั้นเองค่ะ

เลยไปศึกษาต่อดูแล้วพบว่า面食い และ面食らうมีความหมายดังนี้ค่ะ



1.面食い (めんくい)
หมายถึง คนที่ชอบคนที่หน้าตา,รูปลักษณ์ภายนอก โดยใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

イケメンのイラスト
โดยคำว่า面 ในที่นี้หมายจากคำว่า顔 ซึ่งหมายถึงใบหน้า และคำว่า食い ซึ่งหมายถึงกิน นั่นเอง

ยกตัวอย่างการใช้เช่น
สมมุติว่าเป็นผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงสวยๆ พูดว่า

「私、面食いだから友達はみんな美人なの」
「ฉันนะ เป็นพวกชอบคนที่หน้าตา เพื่อนๆฉันเลยมีแต่คนสวยๆล่ะ」

เป็นต้น

ตอนแรกที่รู้จักคำนี้รู้สึกว่าเป็นคำที่แปลกดี55555 ทั้งคันจิและความหมาย
ไม่คิดว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำเรียกเฉพาะคนที่ชอบคนที่หน้าตาอยู่

ทำให้จำคำนี้ได้แม่นเลยค่ะ




2.面食らう (めんくらう)
หมายถึง การเกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้นทำให้ตกใจลนลาน

辛い表情の女性のイラスト(4段階)
โดยคำนี้มีที่มาจากคำว่า「橡麺棒を食らう」ซึ่งหมายถึงเส้นโซบะชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการทำ 

ตัวอย่างประโยคที่พบจากนิยายคือ

いきなりのお誘いに僕は少々面食らっていた
จากคำชวนกระทันหันนี้ ทำให้ผมตกใจลนลานเล็กน้อย

ในตอนแรกที่ไม่รู้ความหมายแปลไปว่า

จากคำชวนกระทันหันนี้ ทำให้ผมชอบคนที่หน้าตา ????????



เพิ่งรู้ว่ามีความหมายต่างกันขนาดนี้55555 ทั้งๆที่เขียนเหมือนกันมากแท้ๆ OTL

เลยลองนำทั้งสองคำมาแต่งเป็นประโยคเดียวกันดูค่ะ5555



「Aちゃんは面食いだから、イケメンに声をかけられたら、すごく面食らったそうだ。」
「เพราะเอจังเป็นคนชอบคนที่หน้าตาน่ะสิ พอถูกหนุ่มหล่อเข้ามาทัก ดูท่าจะตกใจทำไม่อะไรถูกเลยล่ะ」

จากการได้ลองแต่งประโยคแบบนี้ คิดว่าจะช่วยทำให้จำ2คำนี้ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ

ถ้าอ่านเจอคำไหนน่าสนใจอีกจะนำมาอัพในบลอกอีกนะคะ



( *՞ਊ՞*)ノ

Saturday, 21 March 2015

13.I can change! : I see

ต่อจากบลอกคราวที่แล้วนะคะ คราวนี้เป็นหลังจากได้อ่านงานของคนญี่ปุ่น
และได้ฟังอาจารย์สอนแล้วค่า
เรื่อง 外国人 ชาวต่างชาติ
โดยรอบนี้แก้ใหม่เป็น
ホテルのロビーのソファーにペエスケという男の人が座っている。ペエスケの隣には新聞を広げて読んでいる男の人がいる。ペエスケはふと視線を移すと、地図を手に持っている一人の外国人と目が合ってしまった。すると、ペエスケが「やばい!」と思った瞬間、その外国人が何か頼みごとをしたそうな表情で近づいてきた。外国語に自信がないペエスケは、説明するのを避けるために、隣に座っている男の人の新聞のかげに隠れて、その外国人に怒られた。

ข้อแตกต่าง
1.ของเดิมใช้คำว่าあるホテル แต่ของคนญี่ปุ่นไม่ใช้ ของใหม่จึงตัดออก
2.ของเดิมใช้รูปสุภาพและรูปธรรมดาปนกัน ของใหม่จึงทำเป็นรูปธรรมดาให้เหมือนกันหมด
3.ของเดิมไม่มีてしまうหรือてしまったทำให้เรื่องดูเรียบๆ ของใหม่จึงเพิ่มเข้าไป
4.ของเดิมไม่มีบอกทิศทางแบบていく ていくるของใหม่จึงเพิ่มเข้าไป
5.ของเดิมใช้คำเชื่อมว่าソファで แต่ต้องเป็นに
6.ของเดิมใช้เริ่มว่า日本人ตั้งแต่แรก แต่ของคนญี่ปุ่นเพราะรู้อยู่แล้วว่าเป็นคนญี่ปุ่นเลยไม่ได้พูด ของใหม่จึงไม่ได้พูดว่าเป็น日本人
7.ของเดิมไม่มีชื่อให้ตัวเอกแบบของคนญี่ปุ่น ของใหม่จึงเพิ่มเข้าไป แลัวพบว่าพอมีแล้วทำให้เข้าใจเรื่องได้ง่ายและเร็วขึ้น
8.ของเดิมไม่มีความคิดของตัวละครแทรกอยู่ เรื่องเลยดูเหมือนการบรรยายปกติ ของใหม่จึงเพิ่มเข้าไป
9.ของเดิมมีการมุมมองประธานสลับไปมา ของใหม่จึงพยายามให้ペエスケเป็นประธานทั้งหมดเพื่อให้   เข้าใจง่าย
10.ของเดิมใช้คำว่าヨーロッパ人และ英語แต่ของคนญี่ปุ่นใช้คำว่า外国人และ外国語 ทำให้รู้สึกว่า外国人และ外国語เหมาะสมกว่า เพราะชาวต่างชาติคนนั้นไม่จำเป็นว่าจะเป็นคนยุโรปและพูดภาษาอังกฤษ
11.ของเดิมมีใช้てในการเชื่อมประโยคค่อนข้างมาก ของใหม่จึงพยายามตัดออก
12.ของเดิมรูปประโยคไม่กระชับ ของใหม่จึงพยายามเขียนใหม่ให้กระชับขึ้น
13.ของเดิมในตอนแรกอธิบายว่ามี2คน 二人ในตอนแรกเริ่มและอธิบายไปทีละคน แต่ของใหม่เริ่มที่อธิบายถึงตัวเอกก่อนแล้วจึงอธิบายคนข้างๆ
14.ของเดิมใช้คำว่า読んでいるเฉยๆ ทำให้ไม่เห็นภาพเพราะการอ่านหนังสือพิมพ์ไม่จำเป็นต้องกางอ่านเสมอไป ดังนั้นใช้คำว่า広げて読んでいるอย่างคนญี่ปุ่นจึงจะเหมาะสมกว่า
15.ของเดิมใชคำว่า新聞の後ろซึ่งผิด ของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้คำว่า新聞のかげ ของใหม่จึงเปลี่ยนมาใช้新聞のかげ

จะเห็นได้ว่ามีข้อแตกต่างที่แก้ใหม่ค่อนข้างเยอะ55555 ตอนนี้รู้สึกพอใจกับงานครั้งที่2ค่ะ
แต่ครั้งที่3กลับพูดไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเท่าไร แหะๆ อาจเป็นเพราะไม่ได้เตรียมตัวเท่าครั้งที่2

จากการฝึกเล่าเรื่องในครั้งนี้ ทำให้รู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นของตนเก่งมากขึ้นค่ะ อาจจะยังไม่เท่าคนอื่นก็ตามแต่จะพยายามต่อไปค่ะ !
(ง •̀_•́)ง

12.I can change! : By myself

สวัสดีค่า วันนี้จะมาพูดเรื่องพัฒนาการการเล่าเรื่องเป็นญี่ปุ่นของตัวเองค่า

โดยหัวข้อที่ได้คือ 外国人 ชาวต่างชาติ นั้นเองค่ะ




ในครั้งแรกเลยที่ได้เล่าเรื่องนี้ อธิบายไปว่า 


はい、あるホテル、あるホテルのロビーで、ソファで日本人、二人の日本人が座っています。一人が新聞を読んでいる。もう一人は何にもしないで、そのまま座っている。そして、あるヨーロッパ人がマップを見ているし。そしてそのヨーロッパ人は何にもしていない日本人に目があって、多分道について聞きたいので、その日本人に歩きました。でも、その日本人は多分英国ができないので、道を聞かれるのはいやだと思って、 隣の人が新聞を読んでいるから、彼はその人の新聞の後ろに隠れてしまいました。そこまでするしただから、そのヨーロッパ人は多分ちょっと怒っているそうです。



ไม่ต้องบอกเลยว่า พอกลับมาอ่านอีกครั้งอายมากเลยค่ะ 555555
ตอนนั้นพูดอะไรออกไปปป งืออออออ ผิดทั้งคำช่วยง่ายๆ ใช้รูปธรรมดาและรูปสุภาพปนกันไปหมด5555
ในตอนนั้นอยากใช้ว่า บังเอิญหันไปสบตา ふと視線を移すと、外国人と目が合ってしまった และแต่ไม่รู้คำศัพท์เลยไม่ได้พูดไป และคำว่าซ่อนหลังหนังสือพิมพ์ใช้ไปว่า新聞の後ろに隠れる แต่มารู้ทีหลังว่าต้องใช้คำว่า新聞のかげに隠れる นอกจากเรื่องคำศัพท์แล้ว ยังใช้คำเชื่อม คือคำว่าそしてค่อนข้างเยอะอีกด้วยค่ะ นอกจานี้ยังด้วยความตื่นเต้น ทำให้รู้สึกว่าตัวเองยังพูดได้ไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ

ในตอนแรกหลังพูดเสร็จก็พอรู้ตัวว่าพูดได้ไม่ดี และยิ่งหลังจากอ่านของคนญี่ปุ่นและที่อาจารย์สอนแล้ว ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองพูดได้ไม่ดีมากกๆขึ้นไปอีก55555


ครั้งหน้าจะปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์และเรื่องของคนญี่ปุ่นมาใช้ 
พร้อมทั้งจะตั้งสติไม่ให้ตื่นเต้นตอนพูดและระวังเรื่องรูปภาษากับคำเชื่อมมากกว่านี้ค่ะ

(๑•﹏•)

Sunday, 15 March 2015

11.漫画を翻訳してみた!

สวัสดีค่า วันนี้ลองแปลการ์ตูนดูค่า

ที่เลือกมาวันนี้คือการ์ตูนของคุณまめきちまめこ ค่ะ
โดยวาดไว้ในบล็อกส่วนตัวและทวิตเตอร์ค่ะ
บล็อก:mamekichimameko.blog.fc2.com
ทวิตเตอร์:https://twitter.com/mamekichirou 




โดยส่วนตัวแล้วชอบการ์ตูนของคุณまめきちまめこมากๆเลยค่ะ
ตลกมากๆ ยิ่งเวลาตอนสอบเครียดๆแนะนำเลยค่ะ 55555

วันนี้ลองแปล3ตอนที่ชอบดูค่ะ

1. 電話との戦い ภาษาญี่ปุ่น



1. การต่อสู้กับโทรศัพท์ ภาษาไทย


คอมเม้น:คือลุกขึ้นไปรับก็จบแล้วนะ 55555 ยังลงทุนโทรหาพี่อีก555555
ตอนนี้มีแปลผิดนะคะ 粘り強い หมายถึง ช่างตื้อ ไม่ใช่ความอดทนสูงค่ะ //กราบขออภัย; ;
2.ターザンロープの兄妹 ภาษาญี่ปุ่นt39.png

2.เชือกทาร์ซานของ2พี่่น้อง ภาษาไทย
คอมเม้น:อีพี่จ๋า....



3.怖い ภาษาญี่ปุ่น




3. น่ากลัว ภาษาไทย

คอมเม้น:คุณพระ.. นี้มันชีวิตฉันนิ 555555



คำคัพท์ที่ได้เรียนรู้จากการแปล3ตอนนี้
-粘り強い ねばりつよい มีความอดทนสูงx ------>ช่างตื้อ
-ターザンロープ เชือกโหน
-受け止める うけとめる รับไว้
-朗読 ろうどく การอ่านออกเสียง
-覗く のぞく แอบมอง
-避難 ひなん การอพยพ การหลบภัย

เกร็คความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการแปล3ตอนนี้
-すっぺ เป็นภาษาถิ่นหมายถึง ~しましょう

คำว่า受け止める โดยส่วนตัวแปลผิดมาโดยตลอดค่ะ5555 ชอบแปลว่าเลิกรับ แต่จริงๆแล้วแปลว่ารับไว้
เข้าใจว่า止めるในทีนี้หมายถึงเลิก ฮืออ ส่วนอีกคำทีืคิดว่ามีประโยคมากเลยคือคำว่า覗く ที่แปลว่าแอบมอง เพราะตะก่อนใช้แต่คำว่า見るอย่างเดียวมาโดยตลอดแม้จะแปลว่าแอบมองก็ตาม คราวหน้าจะลองนำคำนี้ไปใช้ดูค่ะ



ปกติไม่เคยแปลการ์ตูนมาก่อนเลย เคยแต่อ่านการ์ตูนภาษาญี่ปุ่น
พอมาลองแปลจริง ไม่รู้ว่าควรแปลยังไงดี5555 ยากกว่าที่คิดมากเลยค่ะ

เพราะภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นมีวิธีใช้ที่ต่างกัน เช่น怖いของภาษาญี่ปุ่นเป็นคำคุณศัพท์ หมายถึงน่ากลัว เพราะงั้นเวลาแปลเป็นภาษาไทยควรแปลว่าน่ากลัวที่เป็นคำคุณศัพท์ มากกว่าแปลว่ากลัว ที่เป็นคำกริยา เป็นต้น

มีแปลผิดด้วย คือคำว่า粘り強いแปลไปว่ามีความอดทนสูง เพราะเห็นว่า粘り คือความอดทน
แต่จริงๆต้องแปลว่า ช่างตื้อ ค่ะ ความผิดครั้งนี้คงช่วยให้จำคำนี้ได้อีกนานเลยค่ะ 55555




เพื่อนๆพี่ๆมีอะไรติชมแนะนำติชมบอกได้เลยนะคะ
การแปลครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นๆเล็กที่ทำให้ในอนาคตจะได้ลองแปลเรื่องอื่นต่อไปค่ะ

ヽ(▽`)ノワーイ♪ヽ(´▽`)ノワーイ♪ヽ( ´▽)ノ

Saturday, 7 March 2015

10.書き方同じけど、読み方違う!

กลับมาแล้วค่ะะะ หลังจากหลุดไปอีกโลก(สอบ)มานานน ฮือออออ

過労のイラスト(女性)


ครั้งก่อนเคยพูดเรือง คันจิที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านต่างกันค่า
คำพ้องรูป นั้นเอง

โดยได้รับไอเดียจาก
柏さんค่า ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
โดย柏さん ได้ให้คอมเม้นแนะนำคำว่า  入水 มาค่ะ

คำนี้สามารถอ่านได้2เสียง และแปลได้2ความหมาย อย่างแรกคือ



入水=じゅすい
หมายถึง กระโดดน้ำตาย (身投げ)




ภาพประกอบที่ยกมาจากเรื่อง 平家物語 ที่หลังสอบเสร็จเพื่อนๆคงรู้จักกันเป็นอย่างดี 55555

เป็นตอนที่จักพรรดิอันโตกุและพระมารดากระโดดน้ำตายทั้งคู่ 
เพราะว่ากำลังจะพ่ายแพ้กองทัพ源  แต่ตอนหลังพระมารดาถูกช่วยไว้ได้ แต่จักพรรดิอันโตกุสิ้นพระชนม์

ตอนที่กระโดดลงไปพระมารดาได้พูดว่า 
「ใต้ทะเลก็ยังมีอีกเมืองหลวงอยู่นะ เราไปด้วยกันเถอะ」ซึ่งประโยคนี้เป็นประโยคที่มีชื่อเสียงของเรื่องนี้ด้วย



入水=にゅうすい

หมายถึง การลงน้ำ **แต่ไม่ใช้ในความหมายฆ่าตัวตาย หมายถึงการลงน้ำปกติ เช่น ลงสระว่ายน้ำ

水中ウォーキングのイラスト

หลังจากได้คำแนะนำจาก จึงลองคิดดูว่าเคยรู้จักคำแบบนี้อีกไหมนะ
ที่นึกออกก็มี

行った(おこなった)/(いった)
通って(かよって)/(とおって)
開く(あく)/(ひらく)
注ぐ(つぐ)/(そそぐ)
退く(どく)/(しりぞく)


ซึ่งแน่นอนว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่าแปลว่าอะไร อ่านว่าอะไร ต้องดูคำบริบทรอบข้างคำนั้นนั่นเอง




นอกจากนี้ลองไปศึกษาเพิ่มเติม พบว่ามีคำที่เขียนเหมือนกัน อ่านไม่เหมือนกัน

แต่ความหมายเหมือนกัน ก็มี

คำนั้นคือคำว่า世論และ重複 อ่านได้2แบบคือ


世論=よろん/せろん
หมายถึง ประชามติ

サラリーマンの会議のイラスト

จากแบบสอบถาม http://news.mynavi.jp/news/2014/06/23/240/

พบว่ามีคนญี่ปุ่นใช้「よろん」 85.3% และ「せろん」 14.7%


重複=ちょうふく/じゅうふく
หมายถึง การทำซ้ำ การเกิดขึ้นซ้ำซาก

寝床でスマートフォンを使っている人のイラスト寝床でスマートフォンを使っている人のイラスト寝床でスマートフォンを使っている人のイラスト

จากแบบสอบถามhttp://news.mynavi.jp/news/2014/06/26/088/

พบว่ามีคนญี่ปุ่นใช้ 「ちょうふく」 60.3%และ「じゅうふく」 39.7%


โดยส่วนตัวคิดว่าเราควรใช้คำที่นิยมใช้มากกว่าคือ よろんและちょうふく
แต่ก็ควรรู้คำว่าせろんและじゅうふくไว้ด้วย เวลาได้ยินจะได้รู้ว่าหมายถึงอะไร



ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณไอเดียจาก柏さんอีกทีนะค่า
ที่ทำให้ได้รู้คำศัพท์เพิ่มเติมและนำไปศึกษาต่อได้

(^人^)感謝♪