Saturday, 7 March 2015

10.書き方同じけど、読み方違う!

กลับมาแล้วค่ะะะ หลังจากหลุดไปอีกโลก(สอบ)มานานน ฮือออออ

過労のイラスト(女性)


ครั้งก่อนเคยพูดเรือง คันจิที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านต่างกันค่า
คำพ้องรูป นั้นเอง

โดยได้รับไอเดียจาก
柏さんค่า ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
โดย柏さん ได้ให้คอมเม้นแนะนำคำว่า  入水 มาค่ะ

คำนี้สามารถอ่านได้2เสียง และแปลได้2ความหมาย อย่างแรกคือ



入水=じゅすい
หมายถึง กระโดดน้ำตาย (身投げ)




ภาพประกอบที่ยกมาจากเรื่อง 平家物語 ที่หลังสอบเสร็จเพื่อนๆคงรู้จักกันเป็นอย่างดี 55555

เป็นตอนที่จักพรรดิอันโตกุและพระมารดากระโดดน้ำตายทั้งคู่ 
เพราะว่ากำลังจะพ่ายแพ้กองทัพ源  แต่ตอนหลังพระมารดาถูกช่วยไว้ได้ แต่จักพรรดิอันโตกุสิ้นพระชนม์

ตอนที่กระโดดลงไปพระมารดาได้พูดว่า 
「ใต้ทะเลก็ยังมีอีกเมืองหลวงอยู่นะ เราไปด้วยกันเถอะ」ซึ่งประโยคนี้เป็นประโยคที่มีชื่อเสียงของเรื่องนี้ด้วย



入水=にゅうすい

หมายถึง การลงน้ำ **แต่ไม่ใช้ในความหมายฆ่าตัวตาย หมายถึงการลงน้ำปกติ เช่น ลงสระว่ายน้ำ

水中ウォーキングのイラスト

หลังจากได้คำแนะนำจาก จึงลองคิดดูว่าเคยรู้จักคำแบบนี้อีกไหมนะ
ที่นึกออกก็มี

行った(おこなった)/(いった)
通って(かよって)/(とおって)
開く(あく)/(ひらく)
注ぐ(つぐ)/(そそぐ)
退く(どく)/(しりぞく)


ซึ่งแน่นอนว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่าแปลว่าอะไร อ่านว่าอะไร ต้องดูคำบริบทรอบข้างคำนั้นนั่นเอง




นอกจากนี้ลองไปศึกษาเพิ่มเติม พบว่ามีคำที่เขียนเหมือนกัน อ่านไม่เหมือนกัน

แต่ความหมายเหมือนกัน ก็มี

คำนั้นคือคำว่า世論และ重複 อ่านได้2แบบคือ


世論=よろん/せろん
หมายถึง ประชามติ

サラリーマンの会議のイラスト

จากแบบสอบถาม http://news.mynavi.jp/news/2014/06/23/240/

พบว่ามีคนญี่ปุ่นใช้「よろん」 85.3% และ「せろん」 14.7%


重複=ちょうふく/じゅうふく
หมายถึง การทำซ้ำ การเกิดขึ้นซ้ำซาก

寝床でスマートフォンを使っている人のイラスト寝床でスマートフォンを使っている人のイラスト寝床でスマートフォンを使っている人のイラスト

จากแบบสอบถามhttp://news.mynavi.jp/news/2014/06/26/088/

พบว่ามีคนญี่ปุ่นใช้ 「ちょうふく」 60.3%และ「じゅうふく」 39.7%


โดยส่วนตัวคิดว่าเราควรใช้คำที่นิยมใช้มากกว่าคือ よろんและちょうふく
แต่ก็ควรรู้คำว่าせろんและじゅうふくไว้ด้วย เวลาได้ยินจะได้รู้ว่าหมายถึงอะไร



ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณไอเดียจาก柏さんอีกทีนะค่า
ที่ทำให้ได้รู้คำศัพท์เพิ่มเติมและนำไปศึกษาต่อได้

(^人^)感謝♪

11 comments:

  1. โห ถ้าอ่านคำว่า 入水 ผิดนี่ความหมายคนละเรื่องเลยนะคะเนี้ยย มีประโยนช์มากๆเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ :)

    ReplyDelete
  2. โหยย พึ่งรู้ว่าความหมายเเตกต่างกันขนาดนี้ ไว้จะลองไปใช้มั่ง เวลาอ่านสอบเครียดๆเเล้วอยากพูดกับเพื่อนขอโดดน้ำตายดีกว่า

    ReplyDelete
    Replies
    1. 5555555 ไปด้วยคนนนน //ผิดด

      Delete
  3. โหไม่คิดว่าอ่านเสียงต่างกันแล้วความหมายจะต่างขนาดนี้ ชอบ入水มากๆในกรณ๊โดดน้ำตายนะเหมาะใช้ช่วงสอบมากๆถ้าข้อสอบจะยากขนาดนี้ขอโดดน้ำตายดีกว่า55

    ReplyDelete
  4. ชอบคำว่า入水มากเลย เพิ่งรู้ว่าอ่านได้สองแบบ (*_*)
    平家物語ฉากนั้นซึ้งเนอะ พี่อ่านละจะร้องไห้เลย T_T
    คำว่า世論เห็นบ่อยๆในคำว่า 世論調査 อ่านว่าโยะรงมาตลอด เพิ่งรู้ว่าอ่านได้สองแบบนะเนี่ย
    แอบดีใจที่อ่านเหมือนคนส่วนใหญ่555
    น่าสนใจมากเลย ไว้จะแวะมาอ่านอีกนะ :D

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณมากค่า >3<

      Delete
  5. นี่ถ้าพูด にゅうすい ผิดเป็น じゅすい นี่คนญี่ปุ่นคนงงนะเนี่ย
    คำว่า 世論 พี่เจอทีไรก็งงทุกทีเลยว่าจะอ่านว่า よろん หรือ せろん ดี
    วันนี้กระจ่างแล้ว ขอบคุณมากจ้า

    ReplyDelete
  6. せっかく紹介してくれていたのに今まで気がついていませんでした。ごめんなさい。

    入水のふたつの読みは小学生のときに担任の先生が、「実は前の学校でね・・・」と話してくれたことを思い出して書いたんです。
    日本の小学校では夏はプールの授業がありますが、その先生がプール開き(プールびらき=プールに入れるようになる日のことです)の前に保護者の方に、「入水の前に注意すること」というお知らせの紙を配ったら、「うちの子になんてことを!」とものすごく怒ったお母さんがいらしたそうです。個人的には「にゅうすい」の読みのほうが一般的だと思うんですが、そんなこともあるんだなーと。まあ当時は「入」を「じゅ」と読むことがあるとは知りませんでしたが。

    ReplyDelete